ค่าขนส่งทางอากาศ เรื่องสำคัญที่ผู้ส่งออกต้องรู้ !!

Last updated: 22 ก.พ. 2565  |  14382 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คำนวณค่าขนส่งทางอากาศ

ราคาค่าขนส่งทางอากาศ Air Cargo คิดอย่างไร ??

                     ในการขนส่งทางอากาศนั้นมีข้อดีกว่าการขนส่งทางทะเลคือมีระยะเวลารวดเร็วเพียงไม่กี่ชั่วโมง มีตารางการบินและเวลาที่แน่นอน แต่เมื่อเทียบกันแล้ว อัตราค่าขนส่งทางอากาศจะมีราคาสูงกว่าอัตราการขนส่งทางทะเล  ซึ่งอัตราค่าขนส่งทางอากาศจะแตกต่างตามชนิดของสินค้าซึ่ง เนื่องจากสินค้าแต่ละชนิดจะมีการดูแล ระหว่างการขนส่งที่แตกต่างกันออกไป



ในบทความนี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับวิธีการคำนวณค่าขนส่งทางอากาศ ว่ามีวิธีการคำนวณอย่างไร

 

เราจะมาทำความรู้จักกับ Chargeable Weight กันก่อน

 “Chargeable Weight” จะเป็นน้ำหนักที่สายการบินนำมาคิดค่าระวางขนส่งสินค้า ซึ่งจะเปรียบเทียบระหว่างน้ำหนักจริงของสินค้า (Gross Weight) กับน้ำหนักที่คำนวณจากปริมาตรของสินค้า (Dimension Weight) “โดยนำน้ำหนักทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน หากน้ำหนักใดที่มีค่ามากกว่า ก็จะใช้น้ำหนักนั้นมาคิดค่าระวาง”

Gross Weight และ Dimension Weight

1. Gross Weight

คือ น้ำหนักรวมของสินค้าที่ชั่งได้ หรือ น้ำหนักจริงจากสินค้านั้น โดยรวมน้ำหนักของกล่องที่บรรจุสินค้าด้วย

2. Dimension Weight

คือ น้ำหนักที่ได้จากการแปลงค่าขนาดของกล่องบรรจุสินค้าเป็นน้ำหนัก

โดยสูตรการแปลง จำนวน , ปริมาตร (cm3) ให้เป็นน้ำหนัก (Kg) คือ



                           

       สำลีจำนวน 100 กล่อง                                          ทุเรียนจำนวน 100 กล่อง



Ex.  ลูกค้าต้องการส่ง สำลีจำนวน 100 กล่อง กับ ทุเรียนจำนวน 100 กล่อง

                 สำลีจำนวน 100 กล่องถ้าน้ำมาชั่งแล้ว น้ำหนักจริงอาจจะชั่งได้เพียงไม่กี่กิโลกรัม แต่ขนาดของกล่องจำนวน 100 กล่องจะกินพื้นที่ในการโหลดสินค้าค่อนข้างมาก ทำให้สายการบินต้องนำน้ำหนักที่ได้จากการคำนวณปริมาตรทั้งหมดมาใช้ในการคำนวณค่าระวางขนส่งแทน ในขณะเดียวกัน สินค้าทุเรียนจำนวน 100 กล่อง เมื่อคิดจากปริมาตรแล้วใช้พื้นที่เยอะก็จริง แต่เมื่อนำทุเรียนทั้ง 100 กล่องมาวางบนเครื่องชั่ง น้ำหนักจริงอาจจะมากกว่าน้ำหนักที่คำนวณจากปริมาตรของกล่องทั้งหมด ซึ่งสายการบินก็จะนำน้ำหนักจริงที่มากกว่ามาใช้ในการคำนวณค่าระวางขนส่งสินค้านั่นเอง  

 

สูตรการคำนวณค่าระวางขนส่ง

ค่าระวางขนส่งทางอากาศ (Airfreight)  = น้ำหนักสินค้า (Chargeable Weight) x อัตราค่าขนส่งต่อกิโลกรัม

ตัวอย่างการคำนวณ 1

ประเภทของสินค้า : ผลทุเรียนสด

ประเทศปลายทาง : ประเทศสิงคโปร์

จำนวนสินค้า : 20 กล่อง

น้ำหนักของสินค้า : 30 กิโลกรัม / กล่อง

ขนาดกล่อง : 30 cm. (กว้าง) x 40 cm.(ยาว) x 50 cm.(สูง)

อัตราค่าระวางขนส่ง มีดังนี้

Weight+100 Kg.+250 Kg.+500 Kg.+1,000 Kg
Price/Kg.50 THB48 THB45THB40 THB

 

1. คำนวณตามน้ำหนักสินค้าจริง (Gross Weight)

Gross Weight             = จำนวนกล่อง x น้ำหนักต่อกล่อง

                                      = 20 x 30  

                                      = 600 กิโลกรัม 

2. คำนวณตามปริมาตรของสินค้า (Dimension Weight)

Dimension Weight      =   ปริมาตรของกล่อง  (กว้าง x ยาว x สูง)  x จำนวนกล่อง / 6,000

                                         =  ( (30 x40 x50) x 20 ) / 6,000

                                         =   200 กิโลกรัม

                   จากการเปรียบเทียบจะเห็น Gross Weight มากกว่า Dimension Weight สายการบินจึงนำ Gross Weight มาใช้ในการคำนวณค่าระวางขนส่งสินค้า โดยน้ำหนักจริงอยู่ที่ 600 กิโลกรัม อัตราราคาค่าระวางขนส่งจึงอยู่ที่กิโลกรัม 45 บาท

                   ราคาค่าระวางขนส่ง  =  600 kg  x 45 บาท =  27,000 บาท

ตัวอย่างการคำนวณ 2

ประเภทของสินค้า : ต้นไม้ประดับ (Ornamental Plants)

ประเทศปลายทาง : ประเทศฟิลิปปินส์

จำนวนสินค้า : 10 กล่อง

น้ำหนักของสินค้า : 10 กิโลกรัม / กล่อง

ขนาดกล่อง : 55 cm. (กว้าง) x 100 cm.(ยาว) x 55 cm.(สูง)

อัตราค่าระวาง มีดังนี้

Weight+100 Kg.+250 Kg.+500 Kg.+1,000 Kg
Price/Kg.88 THB86 THB84 THB80THB


 
1. คำนวณตามน้ำหนักสินค้าจริง (Gross Weight)

Gross Weight  = จำนวนกล่อง x น้ำหนักต่อกล่อง

                           = 10 x 10  

                           = 100 กิโลกรัม 

2. คำนวณตามปริมาตรของสินค้า (Dimension Weight)

Dimension Weight  = ปริมาตรของกล่อง ( (กว้าง x ยาว x สูง)  / 6,000 ) x จำนวนกล่อง

                                     =  ( (55 x 100 x 55) x 10 ) / 6,000
 
                                     =   504.17  กิโลกรัม

                           จากการเปรียบเทียบจะพบว่า Dimension Weight นั้นมากกว่า Gross Weight ดังนั้นสายการบินจึงเลือก Dimension Weight มาใช้ในการคำนวณเพื่อคิดค่าระวางขนส่งสินค้า



                             ราคาค่าระวางขนส่ง =  504.17 kg  x 84 THB =  42,350.28 บาท  หรือประมาณ 42,351 บาท

 

                     จากตัวอย่างข้างต้น ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าค่าขนส่งต่อกิโลกรัมแบบ Air Cargo นั้น จะถูกลงเมื่อปริมาณของสินค้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการส่งออกที่ต้องการส่งสินค้าครั้งละมาก ๆ โดยเฉพาะสินค้าสดหรือสินค้าเร่งรีบ การใช้บริการการขนส่งแบบ Air Cargo จะคุ้มค่ากว่า นอกจากระยะเวลาในการขนส่งที่รวดเร็วแล้ว ผู้ประกอบการส่งออกยังสามารถลดต้นทุนในการขนส่งลงเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับคู่แข่งได้อีกด้วย

GRT CARGO ตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ พร้อมให้คำแนะนำและทางเลือกการขนส่งที่เหมาะสม ข้อมูลตารางการให้บริการของสายการบิน ราคาค่าระวางขนส่งสินค้า รวมทั้งเงื่อนไขในการส่งออกสินค้าประเภทต่าง ๆ เพื่อความพึงพอใจและประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการส่งออก

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้