การส่งออกกุ้งแช่เย็น แช่แข็ง ไปประเทศญี่ปุ่น

Last updated: 13 ก.ย. 2564  |  4056 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การส่งออกกุ้งแช่เย็น แช่แข็ง ไปประเทศญี่ปุ่น

Tokyo2020 Olympic Game กับ กุ้งแช่เย็น หรือแช่แข็ง

             

              งานโอลิมปิกปี 2020 ได้จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในปีนี้ (2021) เป็นการจัดงานสุดยิ่งใหญ่

ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา แต่ทัพนักกีฬาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลกเดินทาง

เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้อย่างมากมาย และประเทศไทยก็มีนักกีฬาเข้าร่วมชิงเหรียญทองในครั้งนี้เช่นกัน

              การเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นนั้น ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ด้วยการเดินทาง

ที่สะดวกมากยิ่งขึ้นผ่านสายการบินต่าง ๆ และสินค้าต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงสินค้างต่าง ๆ

                                                                                        จากประเทศไทยก็สามารถเดินทางไปถึงปลายทาง ด้วยบริการขนส่งทางอากาศ และทางเรือได้

                                                                                        โดยทาง GRT Cargo สามารถดูแลการขนส่งสินค้าต่าง ๆ ไปถึงยังประเทศญี่ปุ่นได้อย่างมืออาชีพ
     

               การนำเข้าสินค้าของประเทศญี่ปุ่นนั้น มีมากมายหลายชนิด และนำเข้ามาจากหลากหลายพื้นที่ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งในวันนี้ GRT Cargo จะมานำเสนอ สินค้าที่ประเทศญี่ปุ่นนำเข้าจากประเทศไทยทั้ง 10 อันดับ ดังนี้

1.      รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ

2.      ไก่แปรรูป

3.      เครื่องจักรกล และส่วนประกอบเครื่องจักรกล

4.      เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

5.      เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

6.      ผลิตภัณฑ์พลาสติก

7.      แผงวงจรไฟฟ้า

8.      เม็ดพลาสติก

9.      เครื่องใช้ไฟฟ้า และส่วนประกอบอื่น ๆ

10.    เคมีภัณฑ์

                     นอกจาก 10 อันดับเบื้องต้นแล้วนั้น ประเทศญี่ปุ่นยังนำเข้าสินค้าอื่น ๆ เช่น กุ้งสด ปูสด แช่เย็นและแช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง เนื้อสัตว์แปรรูป

จากประเทศไทยอีกด้วย โดยบทความนี้เราจะมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการส่งออกกุ้งแช่เย็น หรือ กุ้งแช่แข็ง เพื่อเป็นแนวทางในการส่งออกของผู้ประกอบการ

ที่สนใจส่งสินค้ากุ้งไปยังประเทศญี่ปุ่น และจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้การส่งออกราบรื่นที่สุด

   

                     กุ้งแช่เย็น หรือ กุ้งแช่แข็ง เป็นสินค้าที่มีอัตราการส่งออกสูงขึ้น

    เนื่องจากสัดส่วนการนำเข้ากุ้งสดแช่เย็น หรือแช่แข็งจากต่างประเทศ

    มีอัตราสูงถึงร้อยละ 27  ซึ่งประเทศไทยนั้น มีอัตราการส่งออกที่สูงและเติบโต

    ขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ ร้อยละ 2.43

 

 


         โดยขั้นตอนการส่งออกกุ้งแช่เย็น และแช่แข็ง ผู้ส่งออกมีหน้าที่ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

1.      ขออนุญาติและจดทะเบียนเป็นผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ สำนักงานบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมง

2.      สมัครเป็นสมาชิกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย

3.      ตรวจสอบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ตรวจสอบและรับรองต้นทุนการผลิต กองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

4.      ขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า สำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ

5.      ขอหนังสือรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานต่าง ๆ ตามข้อกําหนดของประเทศคคู่ค้า

6.      ผ่านพิธีการศุลกากร

     -             ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Paperless)

     -             ส่งข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

7.      ส่งออก

8.      บริหารสิทธิประโยชน์ภาษีอากร ตามที่ผู้ส่งออกได้รับ เช่น BOI, 19 ทวิ, FREE ZONE

 

การส่งออกกุ้งสดแช่เย็น หรือแช่แข็งไปยังตลาดญี่ปุ่นจึงไม่ใช่เรื่องยากในการสร้างมูลค่าการส่งออกให้เกิดขึ้นกับประเทศไทย ซึ่งหากท่านใดต้องการเป็นผู้ส่งออกสินค้าชนิดนี้ หรือชนิดอื่น ๆ ไปยังประเทศญี่ปุ่น สามารถติดต่อเราเพื่อขอคำปรึกษา หรือให้ทางเราดูแลดำเนินการส่งออกได้ที่ ติดต่อเรา

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

กฎหมาย/ระเบียบ และขั้นตอนการส่งออกโดยสรุป : กุ้ง ปลาหมึก แช่แข็งและแช่เย็น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้